CD090 หลวงปู่บุญเพ็ง กัปปโก
หมายเหตุ : ต้องการดาวน์โหลด ให้คลิ๊กขวาที่เลขขนาดไฟล์ เลือกบันทึก หรือ Save หากโหลดไม่ได้ กรุณามาโหลดใหม่วันหลัง อาจเกิดจากอินเตอร์เน็ตติดขัด หรือมีผู้ใช้เยอะ โหลดไปแล้วใช้ไม่ได้ อาจเกิดจากการโหลดไปไม่สมบูรณ์ ต้องโหลดใหม่ ในเวลาที่อินเตอร์เน็ตคล่องตัว การโหลดไฟล์รวมมักมีปัญหา หากมีการสะดุด ทั้งจากการใช้แบบไร้สาย หรือไฟกระชาก สัญญาณกระตุก หรือขาดหายแม้เพียงเสี้ยววินาที ปกติจะขึ้นว่าโหลดเสร็จแต่มักจะแตกไฟล์ไม่ได้ครับ . |
รายการ Zip รวมทั้งแผ่นโหลดทีเดียว |
คุณภาพ |
โหลดที่นี่ |
CD090 หลวงปู่บุญเพ็ง กัปปโก ( แบ่งเป็น 2 zip ) |
MP3 /24 Kbps |
Zip01 166 MB |
Zip02 + 158 MB |
||
|
|
|
ได้แผ่นมาจาก www.cddhamma.com
สงวนสิทธิ์ ห้ามนำไปจัดจำหน่าย เผยแพร่ฟรีเป็นธรรมทานได้
ดาวน์โหลดแยกไฟล์ MP3 / 24Kbps |
โหลดที่นี่ |
001 อุบายข่มสงบจิต 4 มค 28 |
|
002 อารมณ์สายกลาง 5 มค 28 |
|
003 สมาธิรากเง้าแห่งปัญญา 10 สค 29 |
|
004 กัณฑ์ง่วงนอน 26 เมย 31 |
|
005 การภาวนาฝึกสมาธิหาที่พึ่งของจิต 12 มีค 32 |
|
006 ศีลธรรมก็คือใจนั้นแหล่ะมความสงบเป็นสมาธิ 15 มีค 32 |
|
007 เปิดใจฟังธรรม 8 กค 37 |
|
008 การภาวนาฝึกสมาธิหาที่พึ่งของจิต 12 มีค 32 |
|
009 คววามดีนั้นมีในจิตหรือยัง 25 เมย 32 |
|
010 อบรมจิตตภาวนา 8 กค 36 |
|
011 ยกระดับวิวัฒจิต 25 เมย 37 |
|
012 อุปสรรคของจิตในการภาวนา 23 เมย 38 |
|
013 พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นที่พึ่ง 27 มิย 40 |
|
014 พุทธาภิเษกตัวเองโดยอาศัยพุทธโธ 16 ม๊ค 32 |
|
015 ปลุกจิตปรับใจไขปัญหาธรรม 25 เมย 36 |
|
016 อะไร อะไรก็อยู่ในใจนี้แหล่ะทั้งนั้น 28 มิย 41 |
|
017 หลักของการปฏิบัติธรรมะ 16 กย 27 |
|
018 ต้องอาศัยใจเป็นหลัก 17 กย 27 |
|
019 ทำจิตเป็นพุทโธ 18 กย 27 |
|
020 รวมใจเป็นพุทโธ 17 กย 27 |
|
021 ชี้เป้าหมายการภาวนา |
|
022 ปรับใจเข้าหาธรรม 31 พค 29 |
|
023 ผลเพียรแห่งจิต 16 มีค 30 |
|
024 ให้ยึดเอาพุทโธเป็นที่ตั่ง 12 มิย 27 |
พระครูวิเวกวัฒนาทร (หลวงพ่อบุญเพ็ง กปฺปโก)
ในการประกอบอาชีพ หลวงพ่อก็สามารถทำได้ดีกว่าชาวบ้านทั่วไป ท่านรู้จักประกอบอาชีพหารายได้นอกฤดูทำนา จนมีเงินทองมาจุนเจือครอบครัวอีกส่วนหนึ่ง ท่านเล่าให้ฟังว่าท่านเป็นกัลบก (ช่างตัดผม) ประจำหมู่บ้าน สามารถตัดผมได้หลายทรง นอกจากนี้ หลวงพ่อยังมีพรสวรรค์ในการรักษาโรคโดยวิธีการพื้นบ้านตามที่โยมบิดาท่านสอนให้ เช่น รักษาตาต้อ คางทูม ฯลฯ เป็นเหตุให้ท่านสอนให้พวกลูกศิษย์ใช้คาถาและพลังจิตรักษาโรคมาจนกระทั่งปัจจุบัน ท่านบอกว่า ให้ฝึกไว้ช่วยตนเองและสงเคราะห์คนอื่นยามที่ไม่มีโอกาสรับการรักษาจากแพทย์แผนปัจจุบันได้
สู่สมณเพศ
มูลเหตุที่หลวงพ่อท่านมีความตั้งใจอยากจะบวชเป็นพระแทนการสร้างครอบครัว เฉกเช่นชาวบ้านอื่น ก็คงเป็นเพราะท่านเกิดมาในตระกุลที่ฝักใฝ่ในทางศีลธรรม ประกอบกับ พี่ชายของท่านคือพระครูศีลสารวิมล (ล้วน สีลราโม) ก็ได้บรรพชาตั้งแต่หลวงพ่อท่านยังเป็นเด็กจนได้เป็นพระกรรมฐานผู้มีชื่อเสียงเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของพุทธบริษัท และเป็นเจ้าอาวาสวัดป่าวิเวกธรรม
หลวงพ่อท่านเล่าให้ฟังว่า ในปี พ.ศ. ๒๔๗๑ หลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม แม่ทัพธรรม พร้อมด้วยศิษยานุศิษย์หลายรูปได้เดินทางมาจากจังหวัดอุบลราชธานี มาธุดงค์กรรมฐานที่โคกเหล่างา (วัดป่าวิเวกธรรมในปัจจุบัน) ซึ่งเป็นป่ารก เป็นป่าช้าผีดุ แล้วก็มีหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ หลวงปู่ภูมี ฐิตธมฺโม หลวงปู่ฝั้น อาจาโร หลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญ
หลวงปู่คำดี ปภาโส หลวงปู่สีโห เขมโก และพระอาจารย์รูปอื่น ๆ อีกมาก มาอยู่รับการอบรม
ธรรมปฏิบัติจากหลวงปู่สิงห์ เมื่อออกพรรษาเข้าหน้าแล้ง บรรดาท่านเหล่านี้ก็พากันไปแสวงหาที่วิเวกภาวนา โดยหลวงปู่เทสก์ได้ไปแสวงหาที่วิเวกกรรมฐานทางทิศตะวันออกของเมืองขอนแก่น คือไปทางจังหวัดมหาสารคาม ท่านได้ไปพักอยู่ที่ป่าช้าหัวหนองตอกแป้น บ้านบัวบาน อำเภอเชียงยืน และได้อบรมหลักการปฏิบัติธรรมแก่ญาติโยมบ้านบัวบาน รวมทั้งโยมบิดา มารดา ของหลวงพ่อท่านด้วย โยมบิดา มารดาของหลวงพ่อมีความเลื่อมใสศรัทธาหลวงปู่เทสก์เป็นอย่างยิ่ง จึงได้มอบบุตรชายคนโตคือ พระครูศีลสารวิมล (ล้วน สีลราโม) เป็นลูกศิษย์ ติดตามหลวงปู่เทสก์ไปธุดงค์กรรมฐานตามสถานที่ต่าง ๆ จนกระทั่งได้อุปสมบท และ ปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่ภูมี ฐิตธมฺโม วัดคีรีวัลล์ อำเภอท่าช้าง จังหวัดนครราชสีมา จนเกิดความมั่นใจในความรู้ความเข้าใจในธรรมะคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วก็นึกถึงญาติพี่น้องทางบ้าน จึงกลับมานำญาติพี่น้องบวช และได้มาจำพรรษาที่วัดเทพนิมิต บ้านบัวบาน ในปี ๒๔๘๕ เพื่อโปรดโยมบิดามารดาและญาติพี่น้อง ในขณะนั้นหลวงพ่อท่านมีอายุประมาณ ๑๔-๑๕ ปี ต้องรับภาระการประกอบอาชีพดูแลครอบครัวแทนพี่ชายที่บวชกันไปหมด นี้จึงเป็นเหตุให้ท่านไม่เคยมีโอกาสบรรพชาเป็นสามเณร
หลวงพ่ออุปสมบทในวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๔๙๒ ที่วัดศรีจันทร์(ธรรมยุต) จังหวัดขอนแก่น โดยมีพระพิศาลสารคุณเป็นพระอุปัชฌายะ พระครูคัมภีรนิเทศ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระมหาสุพจน์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายา "กปฺปโก" ซึ่งแปลว่า “ผู้สำเร็จ” เมื่ออุปสมบทแล้วได้จำพรรษาที่วัดเทพนิมิต บ้านบัวบาน เป็นเวลา ๒ ปี ในระหว่างนั้น โยมบิดาได้ป่วย และเสียชีวิตในปี พ.ศ. ๒๔๙๓ หลังจากจัดการฌาปนกิจศพโยมบิดาเรียบร้อยแล้ว หลวงพ่อจึงได้เดินทางมาศึกษาปริยัติธรรม และพำนักยังวัดสุทธจินดา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา จนถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๔๙๔ โยมมารดาเสียชีวิต ท่านจึงเดินทางกลับมายังจังหวัดมหาสารคาม เพื่อจัดการงานศพของโยมมารดา และท่านก็ไม่กลับไปศึกษาปริยัติธรรมอีก ขณะนั้นท่านได้วิทยฐานะเป็น นักธรรมโท
ในปีพ.ศ. ๒๔๙๕ พระพี่ชายคือ พระครูศีลสารวิมล ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดป่าวิเวกธรรม หรือวัดเหล่างา หลวงพ่อท่านจึงจำพรรษาที่วัดเทพนิมิต บ้านบัวบานเพียงองค์เดียว เป็นเวลา ๕ ปี ต่อมาจึงได้ติดตามพระพี่ชายมาจำพรรษาที่วัดป่าวิเวกธรรม เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๙ ประวัติหลวงพ่อบุญเพ็ง กปฺปโกนำมาจาก ธรรมบรรณาการในงานพิธีถวายปริญญาศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติ